การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม คือภารกิจหลักของสำนักงานประกันสังคม ที่ต้องให้การดูแล และมอบสิทธิประโยชน์แก่สมาชิก โดยครอบคลุมสิทธิประโยชน์มากมายหลากหลายรายการ แตกต่างกันไปตามประเภทของการเป็นสมาชิกของผู้ประกันตน และหนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่เป็นข้อสงสัยและเป็นประเด็นคำถามกันมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ การรับเงินทดแทนหรือเงินชดเชยในกรณีการว่างงาน พร้อมทั้งรายละเอียดขึ้นทะเบียนว่างงาน ทั้งรูปแบบปกติและวิธีลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ ซึ่งมีขั้นตอนที่ต้องศึกษาไว้ เผื่อวันหนึ่งคุณต้องตกอยู่ในสภาวะ “ว่างงาน”
ดังนั้น ในครั้งนี้เราได้ค้นหาและพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ที่ใช้กันอยู่ในระบบปัจจุบัน โดยมีข้อมูลและรายละเอียดดังนี้
สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์
สิ่งแรกสำหรับการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์เพื่อขอรับเงินชดเชยการว่างงานที่คุณต้องตรวจสอบคือ คุณต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรฐาน 33 เท่านั้น ซึ่งหมายถึง พนักงานเอกชนทั่วไป ที่เคยทำงานกับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และส่งเงินสมทบ คิดเป็น 5% ของเงินเดือน มาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายล่าสุด โดยจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย เสียชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ โดยสำหรับกรณีว่างงานและขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์เพื่อรับเงินชดเชยนั้น ผู้ว่างงานจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่นี่ ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน (ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออก) ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนการว่างงานประกันสังคมนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
อีกทั้งผู้รับเงินทดแทนว่างงานนี้ จะต้องเข้ารายงานตัวตามกำหนดนัดหมายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่นี่ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ภายหลังจากการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ และจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานตามที่กรมแรงงานจัดหาให้ และต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
ยิ่งไปกว่านั้น การรับเงินทดแทนการว่างงานนี้ ผู้ว่างงานจะต้องไม่ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง/ จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย/ ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน/ ละทิ้งหน้าที่เกิน 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร/ ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย/ ได้รับโทษจำคุก/ ต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนชราภาพ (เกษียณแล้วรับเงินทดแทนว่างงานไม่ได้ ให้รับเงินชราภาพแทน)
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ กรณีว่างงาน
หลังจากที่เราทราบรายละเอียดของเงื่อนไขการรับสิทธิกันไปแล้ว เราก็จะมาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ ก่อนที่จะไปเรียนรู้วิธีลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
กรณีแรก รับเงินทดแทนว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้าง
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน หรือประมาณ 6 เดือน (ควรนับเป็นวันเพราะบางกรณี อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมี 28 – 29 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนว่างงาน เดือนละ 5,000 บาทไป 6 เดือน
กรณีที่สอง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
สิทธิประโยชน์ว่างงานกรณีนี้ จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาทเป็นต้น
กรณีสุดท้าย ยื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนการว่างงานทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออก เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน
วิธีลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
- ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
( ที่นี่ ) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน - ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม
กรุงเทพมหานครพื้นที่/ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.
ขั้นตอนและวิธีลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
- วิธีลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ เริ่มแรกให้เข้าไปขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ที่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน
- ให้ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ โดยกดที่ “ลงทะเบียนเข้าใช้งาน” สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ และยังไม่มีรหัสผ่าน ให้เริ่มลงชื่อเข้าใช้งาน โดยกรอกหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก พร้อมตั้งรหัสผ่าน
- อ่านข้อตกลงของการให้บริการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ กดขั้นตอนต่อไป
- ตรวจสอบข้อมูล คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด และหมายเลขบัตรประชาชนและหมายเลขหลังบัตรประชาชนด้วยเช่นกัน ให้ถูกต้องและครบถ้วน
- กรอกข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม สำหรับการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ พร้อมตั้งรหัสผ่าน
- กดบันทึกการลงทะเบียน
- สิ้นสุดกระบวนการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ผู้ประกันตนจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ และวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน ซึ่งสามารถกดพิมพ์เอกสารออกมาได้
- พิมพ์เอกสาร ใบนัดรายงานตัว และ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
เอกสารสำหรับขึ้นทะเบียนว่างงาน
เอกสารที่ผู้ประกันตนต้องเตรียมเพื่อการขึ้นทะเบียนการว่างงานออนไลน์ เพื่อรับเงินทดแทน มีดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารCIMB Thai ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ทั้งนี้ นอกจากการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ผู้ประกันตนยังสามารถขึ้นทะเบียนว่างงาน กรณีว่างงาน โดยการเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง อีกด้วย ซึ่งสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง พร้อมนำเอกสารที่กรอกเรียบร้อย ได้แก่ บัตรประชาชน พร้อมสำเนา รูปถ่าย 1 นิ้ว 1รูป (อายุไม่เกิน 6 เดือน) หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมติดต่อที่เจ้าหน้าที่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือ โทร 02-4558989 ต่อ 215/ 220/ 221