ช้อปดีมีคืน ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป คืออะไร ขอยังไง

โครงการเอาใจนักช้อป และเพื่อเป็นช่องทางในการลดหย่อนภาษี 2563 กับโครงการช้อปดีมีคืน 2563 – 2564 โดยช้อปดีมีคืน คือ มาตรการการกระตุ้นการใช้จ่ายสำหรับบุคคล ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ด้วยการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการมาใช้เป็นช่องทางในการขอลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนจ่ายจริง รวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน ซึ่งนอกจาก มาตรการ ช้อปดีมีคืน เงื่อนไข และรายละเอียดได้ถูกกำหนดมา โดยมีข้อมูลที่หลากหลายแล้ว หากคุณมีความสนใจที่จะขอรับการลดหย่อนภาษีเงินได้ จากมาตรการช้อปดีมีคืน คุณต้องดำเนินการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขของมาตรการ ไว้ว่าการจับจ่ายซื้อสินค้าที่จะนำมาลดหย่อนภาษีปี 2563 ตามมาตรการ ช้อปดีมีคืน นั้น มีการยกเว้นการซื้อสินค้าและบริการดังต่อไปนี้ สุรา/ เบียร์ และไวน์ค่าน้ำมัน และก๊าซ ค่าหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ค่าบริการธุรกิจนำเที่ยว ยาสูบ ค่าโดยสารรถยนต์/ มอเตอร์ไซค์ และเรือ ค่าบริการ E – Book ค่าที่พักโรงแรม

ทั้งนี้ ผู้ที่จะขอรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2563 จากมาตรการ ช้อปดีมีคืน ผู้ใช้สิทธิ์ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษี และต้องมีใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้าเป็นหลักฐาน และที่สำคัญอีกประการคือ ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หรือผู้ที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง ไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ ดังนั้น ในเบื้องต้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ เพื่อที่จะสามารถเตรียมการ ในการจับจ่ายสินค้าและบริการ โดยสามารถนำใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบนั้น แนบเป็นเอกสารสำคัญในการขอลดหย่อนภาษี โดยใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบนั้น ตาม ม.86/ 4 แห่งประมวลรัษฎากร มีการกล่าวถึงและอธิบายถึงลักษณะของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบไว้ โดยเราจะมาลงรายละเอียดกันในบทความ ช้อปดีมีคืน ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป คืออะไร ขอยังไง

 

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คือ

จากประมวลรัษฎากร ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจะต้องมีรายการอย่างน้อย ที่ระบุไว้ในเอกสารสำคัญนี้ โดย อ้างอิงตาม มาตรา 86/ 4 ภายใต้บังคับมาตรา 86/ 5 และ 86/ 6 ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยดังนี้

  • ต้องมีการระบุคำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่นี่เห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อความถูกต้องของเอกสารสำคัญใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
  • ในใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีและในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตาม มาตรา 86 วรรคที่สี่ หรือ มาตรา 86/ 2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบในนามผู้ประกอบการตามมาตรา 86/ 3 ให้มีการระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้แทนนั้นด้วย
  • ต้องการระบุชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
  • ต้องมีการระบุหมายเลขลำคับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
  • ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าและบริการให้ชัดเจน
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีการคำนวณจากมูลค่าของสินค้าและบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าสินค้าและ/ หรือของบริการให้ชัดเจน
  • วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบนั้น
  • ข้อความอื่น ๆ ที่อธิบดีกำหนดเพิ่มเติม (ถ้ามี) เช่น การอธิบายเพิ่มเติม การออกเอกสารเป็นชุด หรือการสำเนาใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบนั้น ๆ เป็นต้น

สิ่งที่มีความสำคัญอีกประการ นอกจากรายละเอียดที่มีการระบุไว้ในใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คือ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบนั้นจะต้องเป็นภาษาไทย เป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรือฮินดูอารบิก เว้นแต่ ในกิจการบางชนิดหรือบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องทำเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ หรือใช้หน่วยเงินตราเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเป็นภาษาต่างประเทศและใช้หน่วยเงินตราต่างประเทศได้ เมื่อได้รับการอนุมัติจากอธิบดี

 

ช้อปดีมีคืน ใช้อย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่มีรายได้ ตั้งแต่ 0 – 150,000 บาทนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้น สำหรับมาตรการ ช้อปดีมีคืน ก็จะไม่ได้รับสิทธิ์ด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะดำเนินการจับจ่ายซื้อสินค้าเต็มจำนวน 30,000 บาทก็ตาม ดังนั้นหากคุณจัดว่าอยู่ในข่ายของผู้ที่มีรายได้ต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาทก็จะไม่สามารถรับสิทธิ์การลดหย่อนภาษีนี้ได้ เพราะในที่สุดแล้ว คุณก็ไม่ต้องจ่ายภาษีอยู่แล้วนั่นเอง

แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อปี มากกว่า 150,000 บาทต่อปี หากมีการจับจ่ายใช้สอยหรือ ช็อปเต็มจำนวน 30,000 บาท ก็จะมีสิทธิ์ได้รับเงินคืน จากมาตรการ ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขโดยจะอยู่ที่ 1,500 บาท และจะได้รับเงินคืน จากมาตรการ ช้อปดีมีคืนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แบบขั้นบันได

ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญอีกประการสำหรับช้อปดีมีคืน เงื่อนไข ก็คือ การจับจ่ายใช้สอยนั้นจะต้องอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 23 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563 โดยจะสามารถนำการใช้จ่ายและหลักฐาน ไปลดหย่อยภาษีปี 2563 ณ เดือนมีนาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราต้องยื่นภาษีปี 2563 โดยมีการยกเว้นรายการสินค้าและบริการที่ไม่สามารถนำมารวมในการลดหย่อนภาษีกับมาตรการ ช้อปดีมีคืนได้ เช่น

  • สุรา/ เบียร์ และไวน์
  • ค่าน้ำมัน และก๊าซ
  • ค่าหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  • ค่าบริการธุรกิจนำเที่ยว
  • ยาสูบ
  • ค่าโดยสารรถยนต์/ มอเตอร์ไซค์ และเรือ
  • ค่าบริการ E – Book
  • ค่าที่พักโรงแรม

ทั้งนี้ ผู้ที่จะขอรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2563 จากมาตรการ ช้อปดีมีคืน เงื่อนไข ผู้ใช้สิทธิ์ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษี และต้องมีใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้าเป็นหลักฐาน และที่สำคัญคือ ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หรือผู้ที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง ไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้

 

อ้างอิง 1 2