การคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง กรณีว่างงานประกันสังคม หรือการดูแลของสำนักงานประกันสังคมนั้น ได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับผู้ประกันตน โดยเฉพาะเหล่าลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนถูกต้องตามกฎหมาย อ้างอิงตามสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของการประกันสังคม จากอนุสัญญา 102 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ที่กำหนดไว้ทั้ง 9 ประการ โดยมีทั้งกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์ครอบครัว ชราภาพ ขาดคนอุปการะ ได้รับอันตรายจากการทำงาน และตลอดจนกรณีว่างงานประกันสังคมได้ให้ความช่วยเหลือ และอยู่เคียงข้างผู้ประกันตนอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากคุณเป็นผู้ประกันตนที่กำลังว่างงาน และมีข้อสงสัยว่าคุณเข้าข่ายรับเงินชดเชยกรณีว่างงานประกันสังคมหรือไม่ และคำข้อคำถามว่างงานประกันสังคม ได้กี่บาทหรือว่างงานประกันสังคม ได้กี่เดือน วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ กับบทความนี้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
รับเงินชดเชย กรณีว่างงานประกันสังคม ต้องมีเงื่อนไขอย่างไร
สิ่งแรกสำหรับการขอรับการชดเชยการว่างงานประกันสังคม ที่คุณต้องตรวจสอบคือ คุณต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรฐาน 33 ซึ่งหมายถึง พนักงานเอกชนทั่วไป ที่เคยทำงานกับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และส่งเงินสมทบ คิดเป็น 5% ของเงินเดือน มาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย โดยจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย เสียชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ โดยสำหรับกรณีว่างงานประกันสังคมพร้อมจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ประกันตน โดยผู้ว่างงานจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนคนว่างงานประกันสังคม ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่นี่ ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน (ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออก) ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนว่างงานประกันสังคมนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
อีกทั้งผู้รับเงินทดแทนว่างงานประกันสังคมนี้ จะต้องเข้ารายงานตัวตามกำหนดนัดหมายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่นี่ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง และจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานตามที่กรมแรงงานจัดหาให้ และต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน ยิ่งไปกว่านั้น การรับเงินทดแทนการว่างงานประกันสังคมนี้ ผู้ว่างงานจะต้องไม่ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- ทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง
- จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน
- ละทิ้งหน้าที่เกิน 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ได้รับโทษจำคุก
- ต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนชราภาพ (เกษียณแล้วรับเงินทดแทนว่างงานประกันสังคมไม่ได้ ให้รับเงินชราภาพแทน)
ว่างงานประกันสังคม ได้กี่บาท และว่างงานประกันสังคม ได้กี่เดือน
หลังจากที่เราทราบรายละเอียดของเงื่อนไขการรับสิทธิกันไปแล้ว สิ่งที่ผู้ประกันตนว่างงานมีข้อคำถามลำดับต่อไปก็คือ จำนวนเงินที่จ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานประกันสังคม ว่าจะได้รับกี่บาท และการว่างงานประกันสังคม ได้กี่เดือน โดยการพิจารณาจ่ายเงินทดแทนการว่างงานประกันสังคมจะดำเนินการพิจารณาจ่ายเงิน แยกเป็น 3 กรณี คือ
กรณีแรก รับเงินทดแทนว่างงานประกันสังคม กรณีถูกเลิกจ้าง
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน หรือประมาณ 6 เดือน (ควรนับเป็นวันเพราะบางกรณี อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมี 28 – 29 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนว่างงานประกันสังคม เดือนละ 5,000 บาทไป 6 เดือน
กรณีที่สอง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
สิทธิประโยชน์ว่างงานประกันสังคมกรณีนี้ จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาทเป็นต้น
กรณีสุดท้าย ยื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานประกันสังคมเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนการว่างงานประกันสังคมทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานประกันสังคมเพราะเหตุลาออก เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน
ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม ยังไง
- ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานประกันสังคมและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
( ที่นี่ ) กับสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน - ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานประกันสังคม (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม
กรุงเทพมหานครพื้นที่/ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.
เอกสารสำหรับขึ้นทะเบียนว่างงานประกันสังคม
เอกสารที่ผู้ประกันตนต้องเตรียมเพื่อการขึ้นทะเบียนการว่างงานประกันสังคม เพื่อรับเงินทดแทน มีดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารCIMB Thai ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สิทธิประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อผู้ว่างงานประกันสังคมมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 2 ปี และผู้ว่างงานประกันสังคมจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน