การเจ็บไข้ได้ป่วย การคลอดบุตร และสิทธิการสงเคราะห์บุตร หรือความรู้สึกกังวลเรื่องการเงินหลังเกษียณ ล้วนเป็นประเด็นที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนต่างให้ความสนใจ และตั้งคำถามเสมอว่า ในเมื่อจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ว่าจะด้วยอัตราเท่าใด มากน้อยเพียงใด เหล่ามนุษย์เงินเดือนจะได้อะไรบ้าง จากสิทธิประกันสังคมและจากการเป็นผู้ถือสิทธิผู้ประกันตน และที่สำคัญที่สุดคือ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างจากเงินที่ถูกหักไปในทุก ๆ เดือน วันนี้เรามีคำตอบให้ทุกคำถาม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
ประกันสังคม มนุษย์เงินเดือน ดูแลท่านกี่กองทุน
หากจะกล่าวถึงสิทธิประโยชน์ที่เหล่ามนุษย์เงินเดือน และผู้ประกันตนจะได้รับนั้น เราต้องมาทำความรู้จักกับ กองทุนสำคัญ 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ซึ่งเป็นกองทุนที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกันตนทุกมาตราทั้ง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40
กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อ ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ซึ่งไม่มีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และอื่น ๆ ในขณะที่ กองทุนเงินทดแทน จะเป็นกองทุนที่เป็นฝ่ายนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงิน ขึ้นอยู่กับอัตราความเสี่ยง เพราะจะเป็นการคุ้มครองผู้ประกันตนในกรณีการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตามการให้ประโยชน์ทดแทน ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนคุ้มครองกรณีเนื่องจากการทำงาน ในกรณี ประสบอันตราย ทุพพลภาพ เจ็บป่วย ตายหรือสูญเสียอวัยวะ อันเนื่องมาจากการทำงาน โดยสำหรับการใช้สิทธิประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนนี้ เหล่าผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้สิทธิจากกองทุนต่าง ๆ เพราะทางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลจะเป็นผู้ที่แยกและดำเนินการทางเอกสารให้ท่านเอง โดยจะดำเนินการใช้สิทธิประกันสังคมนั้นจากการสัมภาษณ์ สอบถามเบื้องต้นจากการทำงานหรือจากเหตุต่าง ๆ เมื่อท่านเข้ารับการบริการ
ผู้ประกันตน คือ ได้รับสิทธิประกันสังคมอะไร และจ่ายเงินสมทบ เท่าไหร่
ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิประกันสังคม 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน โดยถ้าลูกจ้างอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แต่นายจ้างยังจ้างงานให้ทำงานต่อ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกับตนต่อไป และยังคงได้รับสิทธิผู้ประกันตน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ทำงานประจำ ต้องจ่ายเงินสมทบตามกฎหมาย
- กลุ่มที่ทำงานประจำ แต่ลาออกและไม่ได้สมัครงานประจำต่อ ซึ่งเคยจ่ายเงิน สมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือนตอนที่ยังทำงานประจำอยู่ และลาออกจากงานประจำไม่เกิน 6 เดือนเมื่อลาออกแล้วยังสมัครใจที่จะจ่ายเงินสมทบต่อ เพื่อรับสิทธิประกันสังคมต่อเนื่อง (มาตรา 39)
- รวมไปถึงกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานประจำ (เป็นฟรีแลนซ์) อายุ 15 – 60 ปี เลือกจ่ายเงินสมทบเองเพื่อให้ได้สิทธิประกันสังคม (มาตรา 40)
ผู้ประกันตนที่อยู่ในกฎหมายประกันสังคม มนุษย์เงินเดือน อาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ มีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภทโดยแบ่งตามกฎหมายประกันสังคม 3 มาตราใหญ่ ๆ คือ มาตรา 33, 39, 40 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 33
คือผู้ประกันตน ที่มีสถานะเป็นพนักงงานเอกชนทั่วไป ที่ทำงานอยู่กับนายจ้างหรือสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยกฎหมายประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนมาตรา 33 นี่เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้ประกันตนมากที่สุด โดยมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินชดเชย ซึ่งมีการหักเงินสะสม 5% ของฐานเงินเดือน (ในปัจจุบันคือ 15,000 บาท) ซึ่งสมทบสูงสุดที่ 750 บาท และสามารถได้รับสิทธิประกันสังคม ครบทั้ง 7 ประการ คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
ผู้ประกันตน มาตรา 39
เป็นสิทธิประกันสังคม สำหรับผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วจะต้องลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน โดยหากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ของประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนจะต้องเคยทำงานแล้วลาออก แต่มีความประสงค์ที่จะส่งเงินสมทบต่อเนื่อง เพื่อขอรับสิทธิประกันสังคมต่อ โดยจะได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ โดยการจ่ายเงินสมทบ จะดำเนินการคำนวณที่ฐานเงินเดือน เดือนละ 4,800 บาท และคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% ดังนั้นผู้ประกันตน มาตรา 39 จะต้องจ่ายเงินสมทบที่ 432 บาท
ผู้ประกันตน มาตรา 40
สิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 40 คือช่องทางสร้างหลักประกันในชีวิตให้กับประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ทุกอาชีพที่ไม่มีนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า แม่ค้าตลาดนัด หรือฟรีแลนซ์ โดยสามารถได้รับสิทธิประกันสังคม สำหรับการเป็นผู้ประกันตน 3 – 5 กรณี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินสมทบ โดยสามารถเลือกได้ตามรายละเอียด ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
- ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
- ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
นายจ้างแจ้งเข้าพนักงานล่าช้า มีปัญหา
เป็นสิ่งที่ผู้ประกันตนทุกคนต้องทราบและต้องดำเนินการตรวจสอบ และติดตามเพื่อให้ตนเองได้รับสิทธิประกันสังคม เพราะมีหลายกรณีที่นายจ้าง มีการดำเนินการแจ้งเข้าพนักงานช้า หรืออาจลืม หรืออาจจะมีการนำบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พนักงานเข้าเพื่อหวังสิทธิประโยชน์ประกันสังคม มนุษย์เงินเดือน ซึ่งหากมีการตรวจพบ นายจ้างจะมีโทษปรับสูงถึง 20,000 บาท ซึ่งนอกจากผู้ประกันตนจะต้องตรวจสอบด้วยตนเองแล้ว สำนักงานประกันสังคมจังหวัด ยังมีการให้บริการออกตรวจพื้นที่ ด้วยการให้ชุดแรงงานสัมพันธ์ออกตรวจตรา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างงาน และสถานะของนายจ้างและลูกจ้างว่ามีการจ้างงานจริงหรือไม่อีกด้วย
สิทธิประกันสังคม ทำฟันได้ 900 บาท
การตรวจรักษาและการทำทันตกรรม ผู้ประกันตนสามารถดำเนินการเข้าตรวจและให้สิทธิประกันสังคมได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมกับประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนสามารถเข้ารับการรักษาและตรวจทางทันตกรรมตามสิทธิประกันสังคมได้ 900 บาท โดยในทางปฏิบัติผู้ประกันตนสามารถเข้าดำเนินการตรวจและรักษาได้มากกว่านั้น เช่น อาจจะเข้าดำเนินการตรวจรักษาทางด้านทันตกรรม ที่คลินิกทางทันตกรรมที่เข้าร่วมกับประกันสังคม มนุษย์เงินอาจต้องเสียค่าบริการสูงกว่า 900 บาท เช่น 1,500 บาท โดยผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมตามส่วนต่าง อีก 600 บาท เป็นต้น
ทำไมช่วงโควิดเงิน 62% ถึงได้น้อย
จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด – 19 ส่งผลให้สถานประกอบการหลายแห่ง ทั้ง โรงงาน สายการบิน สถานประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ต้องปิดการให้บริการทั้งจากคำสั่งของทางราชการ และจากเหตุผลของการบริการจัดการธุรกิจ ที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจาก ไม่มีนักท่องเที่ยวและมาตรการ Lockdown ทำให้ผู้ประกันตน ต่างขาดรายได้และได้รับผลกระทบ ทั้ง ไม่ได้รับเงินเดือน ว่างงาน สถานประกอบการต้องปิดกิจการ โดยต้องเข้ารับการช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคม โดยตามกฎหมายจะได้รับเงินช่วยเหลือจากสิทธิประกันสังคม ที่พึ่งได้โดยมีการระบุไว้ที่ 62% ซึ่งเป็นการคำนวณเงินชดเชย 62% ของอัตรารายได้ ที่มีการกำหนดฐานเงินเดือนตามกฎหมายสูงสุดไว้ที่ 15,000 บาท ดังนั้น หลาย ๆ ท่านที่มีฐานเงินเดือนสูงกว่านั้น เช่น 20,000 หรือ มากกว่านั้นจึงเกิดข้อสงสัย เรื่องจำนวนเงินที่ได้รับ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมา ทำให้มีการประชุมและพิจารณาถึงการขอปรับฐานเงินเดือนให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนในขณะนี้ ยังอยู่ที่การพิจารณาถึงผลกระทบและอัตราการจ่ายเงินสมทบที่ต้องมีการปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงยังไม่มีการประกาศปรับฐานเงินเดือน และยังคงยึดฐานเงินเดือนและคำนวณสิทธิประกันสังคมที่ควรได้ตาม ฐานเงินเดือน 15,000 บาทอยู่
ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิประกันสังคมเลย เงินสมทบจะไปไหน
เงินสมทบที่มีการนำจ่ายเพื่อการคุ้มครองตามสิทธิประกันสังคมกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน คลอดบุตรและกรณีว่างงาน แม้ประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนจะไม่เคยใช้สิทธิกรณีใดเลยในขณะนี้ เงินที่ถูกหักไปนั้นจะถูกนำไปรวมเป็นเงินกองทุนกลาง เพื่อใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือจ่ายเป็นเงินประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้สำหรับสิทธิผู้ประกันตนท่านอื่น ๆ และสมาชิกที่เป็นผู้ประกันตนเมื่อต้องประสบความเดือดร้อน ทั้งจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตามหลักการสำคัญของกองทุนประกันสังคมที่เน้นการเฉลี่ยทุกข์ – เฉลี่ยสุขซึ่งกันและกัน
สำหรับเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ที่เป็นเงินส่วนที่รัฐบาลจ่ายสนับสนุนให้ เพื่อเป็นเงินสิทธิประกันสังคม กรณีชราภาพซึ่งเป็นการบังคบการออมไปในตัว โดยจะนำไปรวมกับเงินที่หักจากผู้ประกันตนและนายจ้าง รวมกัน 6% ของทุก ๆ เดือน เพื่อนำไปจ่ายเป็นเงินบำนาญชราภาพ โดยเป็นสิทธิประกันสังคมประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ (ดังนั้นต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้น) ครบ 180 เดือนนับตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2541 ซึ่งจะได้เป็นรายเดือนตามสิทธิผู้ประกันตน เรียกว่า เงินบำนาญชราภาพ แต่หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ก็จะได้รับเงินเป็นเงินก้อน ซึ่งเรียกว่า เงินบำเหน็จชราภาพ แทน
ประกันสังคม มนุษย์เงินตรวจสุขภาพประกันสังคม ตรวจอะไรบ้าง
รายการตรวจสุขภาพประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนเป็นประเด็นข้อสงสัยที่ผู้ประกันตนต่างให้ความสนใจ เพราะหากการตรวจสุขภาพประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนมีโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมก็ย่อมเป็นสิทธิประโยชน์ต่อผู้ประกันตนที่พึ่งได้รับโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยไม่จำเป็นต้องไปจ่ายเงินค่าตรวจสุขภาพรอบ 2 กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ซึ่งรายการตรวจสุขภาพประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนครอบคลุมทั้ง 14 รายการสำคัญ โดยแบ่งออกเป็นการตรวจสุขภาพตามลักษณะการตรวจดังนี้
- การตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกายตามระบบ
- การคัดกรองการได้ยิน finger Rub Test สำหรับอายุ 15 ปีขั้นไป/ ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข สำหรับอายุ 30 -39 ปี/ ตรวจทุก 3 ปี
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข สำหรับอายุ 40 -54 ปี/ ตรวจทุกปี
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข สำหรับอายุ 55 ปีขึ้นไป/ ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
- การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ สำหรับอายุ 40 – 54ปี/ ตรวจ 1 ครั้ง
- การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ สำหรับอายุ 55 ปีขึ้นไป/ ตรวจทุก 1 – 2 ปี
- การตรวจสายตาด้วย Snellen eye chart สำหรับ 55 ปีขึ้นไป/ ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
2.การตรวจสุขภาพ ทางห้องปฏิบัติการ
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือก CBC สำหรับอายุ 18 – 54 ปี/ ตรวจ 1 ครั้ง และอายุ 55 – 70 ปี ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
- ปัสสาวะ UA สำหรับอายุ 55 ขึ้นไป/ ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
3.การตรวจสุขภาพ สารเคมีในเลือด
- น้ำตาลในเลือด FBS สำหรับอายุ 35 – 54 ปี/ ตรวจทุก 3 ปี และ 55 ปีขึ้นไป/ ตรวจปีละ 1 ครั้ง
- การทำงานของไต Cr สำหรับอายุ 55 ปีขึ้นไป/ ตรวจปีละ 1 ครั้ง
- ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total & HDL cholesterol สำหรับอายุ 20 ปีขึ้นไป/ ตรวจทุก 5 ปี
4.การตรวจสุขภาพ อื่น ๆ
- เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg สำหรับผู้ประกันตนที่เกิดก่อน พ.ศ.2535/ ตรวจ 1 ครั้ง
- มะเร็งปากมดลูก หรือ Pap Smear สำหรับอายุ 30 – 54 ปี/ ตรวจทุก 3 ปี และ 55ปีขึ้นไป/ ตรวจตามความเหมาะสม
- มะเร็งปากมดลูกวิธี Via สำหรับอายุ 30 – 54 ปี/ ตรวจทุก 5ปี และ อายุ 55 ปีขึ้น/ แนะนำให้ตรวจ Pap smear
- เลือดในอุจจาระ FOBT อายุ 50 ปีขึ้นไป/ ตรวจปีละ 1 ครั้ง
- Chest X-ray อายุ 15 ปีขึ้นไป/ ตรวจ 1 ครั้ง
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่ 1506 หรือ สำนักงานประกันสังคม