บางครั้งเรื่องใกล้ตัวที่หลายท่านอาจจะคิดว่าสามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่สิบนาทีก็น่าจะเสร็จ ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ใช้เวลาทั้งวัน ดังคำกล่าวติดปากเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งรับผิดชอบงานทะเบียนราษฎรที่ว่า “งานทะเบียนราษฎรนั้นต้องละเอียด และค่อยทำ ส่งผลให้อาจจะนาน” ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงขอมาพร้อมกับข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนนามสกุล ใช้เอกสารอะไรบ้าง 2566 เพื่อให้ทุกท่านซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ารับการบริการเปลี่ยนนามสกุลให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและไม่ติดขัด วันนี้เราไปดูกันกับบทความของเราว่าทุกท่านต้องเตรียมอะไรบ้าง
เรื่องควรรู้ก่อนเปลี่ยนนามสกุล
การเปลี่ยนนามสกุลส่วนใหญ่นั้น เราเชื่อว่าหลายท่านคงจะพอทราบสาเหตุหลักสำหรับการเปลี่ยนนามสกุล เช่นการแต่งงาน หรือการเปลี่ยนนามสกุลตามสามี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่คนส่วนใหญ่ต้องดำเนินการ แต่นอกจากประเด็นนี้แล้วในความเป็นจริง เชื่อหรือไม่ว่าทุกท่านยังสามารถดำเนินการขอเปลี่ยนนามสกุลด้วยเหตุผลอื่น ๆ ได้เช่นกัน อาทิ สาเหตุด้านความเชื่อ เสริมดวงหรือแม้กระทั้งการหนีหนี้ ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปสำหรับการขอเปลี่ยนนามสกุล 2566 ทั้งนี้ จากพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505 ความว่า บุคคลสัญชาติไทย สามารถมีชื่อตัว นามสกุล และจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ โดยจะต้องมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ไม่พ้องหรือคล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามพระราชินีและราชทินนามของพระองค์ทั้งสอง
- ไม่ไปพ้องกับราชทินนาม นอกจากจะเป็นราชทินนามที่ทรงประทานให้ตัวคนยื่นคำร้องขอเปลี่ยนเองหรือของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
- ไม่ซ้ำกับนามสกุลอื่น ๆ ที่มีคนใช้แล้ว (ในส่วนนี้สามารถค้นหาจากระบบฐานข้อมูลได้ว่ามีการซ้ำหรือไม่)
- ไม่ใช่คำหยาบคายหรือเป็นคำที่มีความหมายไปในทางหยาบคาย
- ต้องมีความยาวไม่เกิน 10 พยางค์ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
- ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้าชื่อสกุล
- ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล
เพียงเท่านี้ก็สามารถดำเนินการขอเปลี่ยนนามสกุล 2566 ได้ทันที ซึ่งทุกท่านสามารถเตรียมเอกสารเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลได้ดังนี้
เปลี่ยนนามสกุล ใช้เอกสารอะไรบ้าง 2566
ในส่วนของการเปลี่ยนนามสกุล ใช้เอกสารอะไรบ้าง 2566 นั้น มีรายการเอกสารที่ต้องเตรียมดังต่อไปนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว (ถ้ามี)
โดยมีค่าธรรมเนียมสำหรับการขอเปลี่ยนนามสกุล 2566 เพียง 100 บาท ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ทุกท่านสามารถเข้าติดต่อที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่ให้บริการทางราชการ เพื่อยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- นายทะเบียนท้องที่จำดำเนินการตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
- หลังจากนั้นนายทะเบียนจะดำเนินการส่งคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุล 2566 ไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง
- นายทะเบียนกลางดำเนินการพิจารณาและตรวจสอบและส่งผลการพิจารณากลับไปที่จังหวัด เพื่อแจ้งให้นายทะเบียนท้องที่แจ้งผู้ยื่นคำร้องต่อไป
- ทั้งนี้ในกรณีที่นายทะเบียนกลางอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
- เมื่อท่านได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้องเพื่อความสะดวกสบายให้การดำเนินการธุรกรรมอื่น ๆ เช่น ขอเปลี่ยนบัตรประชาชนหรือที่ธนาคารเพื่อขอเปลี่ยนและแก้ไขข้อมูล
เปลี่ยนนามสกุล ต้องแจ้งเปลี่ยนเอกสารอะไรอีก
เพื่อให้ทุกท่านสามารถดำเนินการติดต่อหน่วยราชการและดำเนินธุรกรรมกับธฯคารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เมื่อท่านได้ดำเนินการเปลี่ยนนามสกุลแล้ว ทุกท่านต้องเข้าติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแจ้งปรับเปลี่ยนข้อมูลในส่วนของนามสกุล เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนและเป็นการใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นเราไปดูกันเลยว่ามีเอกสารอื่น ๆ รายการใดบ้างที่ต้องเปลี่ยนตามการแจ้งเปลี่ยนนามสกุล
- ชื่อ นามสกุลในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชน (รายการนี้ต้องดำเนินการเปลี่ยนพร้อมกันตั้งแต่ท่านเปลี่ยนนามสกุล)
- โฉนดที่ดิน
- ใบขับขี่
- ข้อมูลที่สำนักงานประกันสังคม
- บัญชีธนาคาร
- บัตรเครดิต
- กรมธรรม์ประกันต่าง ๆ
- ทะเบียนรถ ในกรณีท่านเป็นเจ้าของรถ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันอาจมีเอกสารอื่น ๆ และบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งทุกท่านอาจจะต้องเข้าดำเนินการแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลเพื่ออัปเดตข้อมูลล่าสุด ซึ่งทุกท่านโปรดตรวจสอบและดำเนินการทันทีเพื่อผลประโยชน์ต่อตัวท่านเอง
ใบเปลี่ยนนามสกุลหายทำไง
ถือเป็นของแถมสำหรับทุกท่านที่ได้ดำเนินการเปลี่ยนนามสกุลไปแล้ว และพบว่าเอกสารมีการสูญหาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเข้าติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอออกเอกสารใหม่ ทุกท่านจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อสามารถยืนยันตัวตนและเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอออกเอกสารใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ให้ทุกท่านเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อรับเอกสารบันทึกประจำวันเพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียน
- ให้ทุกท่านเข้ายื่นเอกสาร ช.1 ให้นายทะเบียน ณ สำนักงานท้องที่ ซึ่งท่านมีทะเบียนบ้านอยู่
- หลังจากนั้น นายทะเบียนอาจดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อตรวจสอบ
- เรียกตรวจบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
- ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านที่ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร
- ตรวจสอบหลักฐานการจดทะเบียนกับฐานข้อมูลชื่อบุคคลหรือการออกหนังสือสำคัญ
- บันทึกปากคำผู้ยื่นในแบบ ปค.14
- เรียกตรวจหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย
- ทั้งนี้เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าเอกสารทั้งหมดถูกต้อง ก็จะสั่งอนุญาตในคำขอของท่านสมบูรณ์และลงนามในเอกสาร
ทั้งนี้สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยและมีประเด็นคำถามเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อสายด่วนบริการประชาชนงานทะเบียนและบัตรได้ทันทีที่ 1548