กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน 2566

การทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น เป็นสิ่งที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องรู้ โดยแม้จะเป็นมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ หรือพึ่งเริ่มทำงานแต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างที่คุณจะไม่ทำความรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก หรือต้องการสมัครใหม่ทุกท่านต้องรู้เพื่อไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์นั่นเอง

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติและเป็นการเพิ่มความรู้ให้ตนเองเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของท่าน ในครั้งนี้เราจึงใคร่ขอนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทุกประเด็น ทั้งลาออก กี่วันได้เงินและรวมไปถึงหากต้องการสมัครใหม่ ต้องดำเนินการอย่างไร ด้วยบทความ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน” เราไปดูกันเลย

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร

หลายท่านเมื่อได้รับสลิปเงินเดือน คงจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการหัก ซึ่งบางท่านก็ถูกหักเสียจนไม่เหลือเงิน จนต้องหาคำตอบว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกแล้วจะได้เงินคืนเมื่อไหร่ หรือลาออกแล้วจะสมัครใหม่ได้หรือไม่ โดย เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น ด้วยความสมัครใจ โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีข้อดีตรงที่ ลูกจ้างหรือในที่นี้คือเหล่ามนุษย์เงินเดือนสามารถเก็บเป็นเงินสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว ในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต

โดยเงินจำนวนนี้จะมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” แล้วนำไปฝากไว้ให้กับ “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน” (บลจ.) ช่วยบริหารจัดการและนำเงินไปลงทุน เพื่อให้เงินในกองทุนของเรานั้นงอกเงย และสำหรับหลายท่านที่ก้มลงมองสลิปเงินเดือน แล้วอาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับจำนวนและ อัตราในการคิดคำนวณเพื่อนำส่งหักกองทุน ทั้งนี้ตามกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตั้งแต่ 2 – 15% ของเงินเดือน และให้นายจ้างสมทบเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2 – 15% เช่นกัน หรือตามแต่ข้อตกลงของบริษัท  เช่น นาย A ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือน 10,000 บาท โดยบริษัทได้ดำเนินการหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของลูกจ้าง 6% หรือ 600 บาท บริษัทสมทบให้อีก 4% คือ 400 บาท ส่งผลให้นาย A ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเดือนรวม 1,000 บาทนั่นเอง

ซึ่งหากมองในแง่ของการออม การส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น เป็นการออมอีกวิธีที่สามารถสร้างความมั่นคงและเป็นหลักประกันที่ลูกจ้างทุกคนจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก เกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตก็จะได้รับทันที และที่สำคัญคือเหล่ามนุษย์เงินเดือนนั้นยังสามารถนำ “เงินสะสม” นี้ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้อีกด้วย

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน ได้คืนเมื่อไหร่ 2566

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน ได้คืนเมื่อไหร่ 2566

โดยปกติแล้ว ลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือนที่เป็นสมาชิกกองทุนมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุนเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งจำนวน ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

แต่ในกรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเพื่อมองหาความก้าวหน้าหรือต้องการเงินเดือนที่สูงมากขึ้นนั้น ก็สามารถส่งผลต่อการดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งทุกท่านต้องดำเนินการศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดการเสียผลประโยชน์ และเพื่อตัวท่านเอง ซึ่งการดำเนินการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกแล้วทำอย่างไรนั้น มีแนวปฏิบัติอยู่ 3 แนวทางด้วยกันดังนี้

  • แนวทางแรก ฝากไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานเดิมได้ โดยลูกจ้างจะได้รับประโยชน์จากการลงทุน แต่จะไม่มีเงินสมทบเพิ่มเติม โดยลูกจ้างจะต้องรอสำหรับการโอยย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่กับที่ทำงานใหม่นั่นเอง หรืออาจจะนำไปรวมกับกองทุน RMF ก็ได้ แต่มีค่าธรรมเนียมการคงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 500 บาทต่อปี
  • แนวทางที่ 2 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่โดยการย้ายไปยังกองทุนใหม่กับที่ทำงานใหม่ หรือรวมกับกองทุน RMF ในกรณีนี้เป็นการดำเนินการโดยไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่ถ้าที่ทำงานใหม่ของคุณ ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คุณต้องนำเงินก้อนนี้ไปไว้ที่กองทุนรวม RMF for PVD แทน ซึ่งต้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง
  • แนวทางที่ 3 นำเงินออกมาลงทุนต่อเอง หรือนำเงินไปใช้อย่างอื่น

แต่ข้อที่ควรระวังและพิจารณาสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 1 ปี เงินที่จะได้รับนั้นจะพึงได้เฉพาะในส่วนของตนเองเท่านั้น โดยจะไม่ได้รับเงินในส่วนที่นายจ้างสะสมให้

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก ภาษี 2566

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก ภาษี 2566

สำหรับลูกจ้างที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลายท่านจะทราบดีเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการนำกองทุนไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่เมื่อดำเนินการลาออกแล้ว ประเด็นคำถามที่ว่า เราจะยังสามารถใช้วิธีใดบ้างในการนำเงินก้อนนี้มาหักลดหย่อนภาษีได้อีก โดยวิธีการคิดคำนวณการหักลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก ภาษีสามารถนำมาลดหย่อนได้นั้น สามารถดำเนินการได้ดังนี้ คือท่านต้องเป็นลูกจ้างที่มีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 55 ปี ซึ่งจะสามารถได้รับสิทธิการไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง หากแต่เป็นลูกจ้างในกรณีอื่น ๆ เช่น แม้ลาออกจากงานแต่ไม่ได้ออกจากกองทุน หรืออายุงานเกิน 5 ปี แต่อายุยังไม่ถึง 55 ปี ไม่ว่ากรณีใดก็ต้องนำรายได้ซึ่งได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก ภาษีต้องนำมาคิดคำนวณทั้งหมด

ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก ภาษีต้องเสียหรือไม่ หรือสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง เรามีที่ปรึกษาด้านนี้โดยเฉพาะมานำเสนอ ที่นี่ กับ ที่ปรึกษากรุงศรี Plan Your Money

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน 2566

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน 2566

และประเด็นสุดท้าย ซึ่งเป็นประเด็นหลักและมีหลายท่านตั้งข้อสงสัย ซึ่งสามารถพบเห็นกระทู้คำถามได้ทั้งในกระทู้ออนไลน์และใน Pantip เกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก กี่วันได้เงิน โดยหลังจากที่เราได้ดำเนินการค้นหาข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการชำระและการเบิกจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น พบว่า การจ่ายเงินของกองทุนนั้น จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 – 14 วันทำการ หรืออาจกล่าวโดยประมาณได้ว่า จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ถึงท่านจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

 

อ้างอิง 1 2

 

Tag

 

#กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออก.  #กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกฎหมายใหม่2564

 
#เช็คกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ pantip
 
#เช็คเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ #กองทุนสํารองเลี้ยงชีพmfc

 

#กองทุนสํารองเลี้ยงชีพtisco #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ2564