ติดโควิดแต่ไม่มีอาการอะไรเลย ดูแลตัวเองยังไง 2023

สำหรับผู้สงสัยว่าจะป่วยหรือติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 แต่ด้วยโอกาสที่ได้รับวัคซีนครบโดส และร่างกายที่แข็งแรง ท่านอาจจะไม่ค่อยมีอาการและถูกจัดให้เป็นผู้ป่วยสีเขียวหรือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย วันนี้เราเลยมีข้อมูลดี ๆ พร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีควรปฏิบัติสำหรับทุกท่านที่เลือกการรักษาตัวเองด้วยวิธี “กักตัวอยู่ที่บ้าน” หรือ “Home Isolation” ดังนั้นเพื่อให้สามารถทำความเข้าใจข้อควรปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น วันนี้เราจึงมาพร้อมกับบทความ “ติดโควิดแต่ไม่มีอาการอะไรเลย หรือ ป่วยสีเขียว ดูแลตัวเองยังไง” เราไปดูกัน

 

การตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยตัวเอง

 

ติดโควิดแต่ไม่มีอาการอะไรเลย

สำหรับทุกท่านที่เริ่มมีอาการป่วยไม่ว่าจะเป็นมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอหรือมีไข้ สิ่งที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือการเข้าตรวจหาเชื้อ โดย ณ เวลานี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันให้ทุกท่านดำเนินการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการ ATK ด้วยตัวท่านเองได้ทันที ซึ่งหากพบว่าผลการตรวจนั้นมีผลบวก หรือขึ้น 2 ขีด โดยหมายถึง “พบเชื้อ” ทุกท่านไม่จำเป็นต้องตรวจเพื่อยืนยันด้วยวิธี RT – PCR อีก ทั้งนี้ในทางกลับกันหากท่านเป็นผู้ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงโดยอาจจะมีผู้ติดเชื้อในที่ทำงานหรือที่บ้าน ให้ดำเนินการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี ATK ก่อน หากยังไม่พบเชื้อแต่ท่านเริ่มมีอาการและคาดว่าจะได้รับเชื้อ ทุกท่านสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT – PCR ได้ โดยอาการป่วยของผู้ป่วยสีเขียว หรือผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว อาการเจ็บป่วยที่ได้รับจากการติดเชื้อนั้นอาจจะมีลักษณะและอาการที่คล้ายคลึงกับอาการแพ้อากาศหรืออาการหวัด ดังนั้นนอกจากท่านได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อผ่านวิธี ATK แล้ว ทุกท่านต้องตั้งสติและอย่าตื่นตระหนก โดยผู้ป่วยสีเขียวนั้นมีเงื่อนไข ดังนี้

  • ไม่มีอาการ
  • วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 ขึ้นไป
  • ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รส ตาแดง มีผื่น
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่มีอาการหายใจเร็ว
  • ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
  • ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  • ไม่มีปอดอักเสบ
  • และไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ อื่น ๆ

โดยหากท่านมีอาการเข้าข่ายอาการทั้งหมดนี้ ถือว่าจัดผู้ในกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงต่ำ หรือมีอาการป่วยสีเขียว โดยจะสามารถเลือกวิธีการรักษาตามอาการและสามารถกักตัวอยู่ที่บ้านได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วย 608 ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง และไม่ควรรักษาด้วยตนเอง

 

ผู้ป่วย 608 คือใคร

เชื่อว่า ณ เวลานี้คงจะมีหลาย ๆ ท่านทีมีความสงสัยและมีข้อคำถามว่า ผู้ป่วย “608” คือใคร เราจะเข้าข่ายเป็นผู้ป่วย 608 หรือไม่ ดังนี้ เพื่อให้ทุกท่านสามารถดำเนินการรักษาตัวด้วยตนเองที่บ้านได้ วันนี้เราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยกลุ่ม 608 มานำเสนอ ดังนี้ โดยผู้ป่วยกลุ่ม 608 หมายถึง

  • มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
  • หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อ 1 นาทีสำหรับผู้ใหญ่
  • มีปริมาณออกซิเจน ซึ่งวัดจากเครื่องวัดปลายนิ้วต่ำกว่า 94%
  • มีโรคประจำตัว หรือเป็นกลุ่มผู้ป่วย 608 ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
  • สำหรับเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึม ดื่มนมได้น้อยหรือรับประทานอาหารได้น้อย
  • กลุ่ม 608 คือ กลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและเป็นผู้มีโรคประจำตัว 7 โรค ซึ่งได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และ +1 คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ สรุปเป็นกลุ่ม 608

 

ติดโควิดแต่ไม่มีอาการอะไรเลย

ติดโควิดแต่ไม่มีอาการ ดูแลตัวเองยังไง

วิธีการดำเนินการดูแลรักษาตัวเองผ่านการกักตัวที่บ้านนั้น สำหรับผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ทุกท่านสามารถดำเนินการเข้ารับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาหรือสถานพยาบาลรัฐใกล้บ้านได้ทันที โดยสำหรับพี่น้องผู้ประกันตนให้ทุกท่านเดินทางเข้ารับยาและรับการรักษาจากสถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านได้เลือกไว้นั่นเอง ในส่วนของผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ท่านดำเนินการโทรติดต่อเพื่อประสานงานสำนักเขตแต่ละเขต เพื่อรับยาและการดูแลรักษาได้ทันทีเช่นกัน เนื่องจากการโทรติดต่อประสานกับ สายด่วน สปสช. 1330 นั้นค่อนข้างที่จะโทรติดยากและอาจจะมีผู้ให้บริการไม่เพียงพอนั่นเอง

ประเด็นสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เป้นผู้ถือสิทธิบัตรทอง ณ เวลานี้ ทุกท่านสามารถเข้ารับยาเพื่อรักษาอาการโควิดได้ทันที ตามแนวทาง “เจอ แจก จบ” โดยหลังจากที่ผู้ที่ต้องสงสัยป่วยโควิด – 19 ได้ตรวจ ATK แล้วพบว่าผลเป็นบอก ทุกท่านสามารถเข้าติดต่อคลินิกหรือร้านยาเพื่อแสดงสิทธิรับยาตามแนวทางได้ทันที ซึ่ง ณ เวลานี้มีอยู่ด้วยกัน 3 สูตร ได้แก่

  • ยาฟ้าทะลายโจร
  • ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก
  • ยาฟาวิพิราเวียร์

ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อโควิดให้สามารถเข้าถึงการให้บริการเพื่อรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีการเชื่อมโยงผู้ป่วยให้เข้าสู่ระบบมากยิ่งขึ้นอีกด้วย และท้ายที่สุดนี้แม้ว่าท่านอาจจะมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 แต่ถ้าเมื่อระยะเวลาผ่านไป พบว่าอาการมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทุกท่านจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยเพิ่มเติมจากอาการเจ็บป่วยนั้น

หากท่านยังมีประเด็นคำถามเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโควิด – 19 ทุกท่านสามารถเข้าศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทันที ที่นี่ หรือโทรสายด่วน 1330 สปสช หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้ทันที

 

อ้างอิง 1 2