ประกันสังคม เงินชราภาพ ขอคืนได้ไหม ใครมีสิทธิ์บ้าง 2565

จ่ายเงินไปก็มาก ครั้นจะขอเข้ารับการใช้สิทธิ์ค่ารักษาพยายาล ก็ไม่อยากจะเจ็บป่วย ดังนั้นหากจะพูดถึงเงินที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนหรือสมาชิกประกันสังคมต่างตั้งตารอและต้องการฟังคำตอบมากที่สุด ณ เวลานี้ ก็คงจะหนี้ไม่พ้นเงินสมทบอย่าง “บำเหน็จและบำนาญชราภาพ” ดังนั้นเพื่อเป็นการให้รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับทุกท่านที่ต้องการหาคำตอบ วันนี้เราจึงมาพร้อมกับบทความ “เงินชราภาพ ขอคืนได้ไหม ใครมีสิทธิ์บ้าง 2565” ซึ่งจะสามารถตอบคำถามที่คาใจทุกท่านได้ เราไปดูกัน

 

เงินชราภาพประกันสังคม 2565

เงินเบี้ยชราภาพประกันสังคมนั้น ถือเป็นหนึ่งในรายการเงินสมทบที่ทุกท่านซึ่งมีสถานะเป็นผู้ประกันตนได้ดำเนินการจ่ายไป โดยแท้จริงแล้วเงินในส่วนนี้จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ค่ารักษาพยาบาล เงินประกันการจ้างงานและในส่วนสุดท้าย คือ เงินชราภาพ ซึ่งทุกท่านจะได้รับเมื่อเกษียณอายุงาน โดยจะเป็นเงินที่ได้รับมาจากการจ่ายเงินสมทบ 3% ของฐานเงินเดือน ซึ่งสามารถหักจ่ายได้สูงสุดที่ 450 บาทต่อเดือน สำหรับท่านที่มีการหักจ่ายในอัตราสูงสุด ทั้งนี้ในส่วนของประเด็นเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ใครบ้างจะสามารถได้รับสิทธิ์เงินชราภาพนั้น จากข้อมูลและรายละเอียดของสำนักงานประกันสังคม พบว่า ทุกท่านที่จะได้รับสิทธิ์รับเงินชราภาพนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือผู้ประกันตน มาตรา 39
  • จะสามารถได้รับเงินชราภาพประกันสังคม เมื่อท่านมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เพียงเท่านี้ ทุกท่านที่เข้าเงื่อนไขก็จะสามารถมีสิทธิ์รับเงินชราภาพประกันสังคมได้ทันที โดยนอกจากสิทธิ์การรับเงินที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ทุกท่านยังมีสิทธิ์ในการรับเงินชราภาพประกันสังคมได้ ด้วย 2 ประเภท คือ เงินบำเหน็จ และบำนาญ โดยมีรายละเอียดต่อเนื่องดังนี้

บำเหน็จ หรือ บำนาญ

เงินชราภาพประกันสังคมนั้น ทุกท่านจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชราภาพประกันสังคมอยู่ 2 ทางเลือก โดย “เงินบำเหน็จ” คือเงินที่ข่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว และในส่วนของ “เงินชำนาญ” นั้น จะเป็นเงินที่จะมีการดำเนินการทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยทุกท่านจะไม่สามารถดำเนินการเลือกว่าจะรับเงินประเภทใด โดยทุกท่านจะได้รับเงินดังกล่าวด้วยเงื่อนไขที่จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามเงื่อนไข ดังนี้

บำเหน็จชราภาพประกันสังคม

สำหรับทุกท่านที่ดำเนินการจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยมีการแบ่งเป็น 2 กรณี คือ การจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ท่านจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพประกันสังคมกับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรที่ท่านเคยส่งสมทบไว้ หรือคิดคำนวณเป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้างในแต่ละนั่นเอง ทั้งนี้ หากท่านเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 จะไม่มีกรณีจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน เพราะผู้ที่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้นั้น ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาแล้ว 12 เดือนนั่นเอง

สำหรับท่านที่จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน หรือไม่ถึง 15 ปี ทุกท่านจะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินส่วนสงเคราะห์บุตรและเงินชราภาพประกันสังคมที่ท่านจ่ายสมทบไปแล้ว บวกกับเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ หรือคิดคำนวณเป็นร้อยละ 6 ของค่าจ้างแต่ลละปีนั่นเอง

บำนาญชราภาพ

เงินในส่วนนี้จะเป็นบำนาญชราภาพประกันสังคมเฉพาะ ผู้ประกันตนที่ดำเนินการจ่ายเงินสมทบจนครบ 180 เดือน ซึ่งแม้ว่าท่านจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบอีกครั้ง หรือส่งติดต่อกันตลอดระยะเวลา 15 ปี ทุกท่านจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชราภาพประกันสังคม เท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยจะมีการคิดคำนวณฐานเงินเดือนไว้สูงสุดที่ 15,000 บาท แต่หากว่าท่านได้มีการส่งเงินสมทบไปมากกว่า 180 เดือน บำนาญเงินชราภาพประกันสังคมนี้ จะมีการคิดคำนวณเพิ่มเติมไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน เช่น หากท่านจ่ายเงินสมทบไป 30 ปี ท่านจะได้รับเงินบำนาญคิดเป็น 20% + (1.5% x 15ปี) ซึ่งจะเท่ากับ 42.5% นั่นเอง

ประกันสังคม เงินชราภาพ ขอคืนได้ไหม

จากการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งว่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ทางคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติประสังคม ฉบับใหม่ ตามที่กระทรวงแรงงานได้นำเสนอ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการใช้จ่ายและการใช้เงินชราภาพประกันสังคม เงินบำเหน็จและบำนาญสำหรับพี่น้องผู้มีสถานะเป็นผู้ประกันตน โดยมีผลมาจากสถานการณ์และความเปลี่ยนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงอย่างหนักต่อการดำเนินชีวิต โดยตามร่างพระราชบัญญัตินั้น มีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญ 3 ข้อด้วยกันคือ

  • การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนให้ผู้ประกันตนนั้นสามารถดำเนินการขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้ พร้อมทั้งมีการขยายเกณฑ์อายุของผู้สมัคร ให้กลุ่มผู้สูงอายุสามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนได้เพิ่มมากขึ้น
  • ประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพอันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตน ซึ่งผู้ประกันตนนั้น สามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือเงินชราภาพประกันสังคมได้ โดยด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากนั้น ผู้ประกันตนก็สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วน ออกมากใช้ก่อนได้เช่นกัน
  • ปรับเพิ่มเติมสิทธิให้แก่ผู้ประกันตน เช่น เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน และเงินทดแทนการขาดราขได้กรณีทุพพลภาพจากเดิมจ่ายที่ร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70
  • เงื่อนไขและรายละเอียดอื่น ๆ ทุกท่านสามารถเข้าติดตามได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม หรือรอการประกาศออกมาเป็นกฎหมายได้ทันทีในอนาคตหลังจากที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ดังนั้น จากรายละเอียดล่าสุด ณ เวลานี้แม้ว่าจะผ่านระยะเวลามาพอสมควรแล้ว แต่ทางสำนักงานประกันสังคมและการประกาศบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับประเด็นการให้เงินชราภาพประกันสังคม หรือการขอคืนเงินชราภาพประกันสังคมนั้น ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมใด ๆ ทั้งนี้หากทุกท่านต้องการทราบรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นเงินชราภาพประกันสังคม ทุกท่านควรติดตามข่าวสารและการให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากสำนักงานประกันสังคมเป็นสำคัญ ที่นี่

อ้างอิง 1 2