ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมที่กำลังปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมสมัยใหม่ ที่การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ สามารถให้ AI หรือหุ่นยนต์แทนแรงงานที่เป็นมนุษย์ โดยเหล่าบรรดาบริษัทที่มีศักยภาพในด้านนี้ ต่างก็ได้เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ ซึ่งส่งผลให้ เหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ทำงานกันอยู่ในระบบ ต่างเริ่มมีความรู้สึกไม่มั่นคงในงานที่ตนทำ บ้างก็ลาออก หรือมองหางานใหม่กันไปบ้าง โดยสำหรับหลาย ๆ ท่านที่กำลังมีความกังวลใจว่าตนจะถูกเลิกจ้าง หรือถูกแทนที่ด้วยระบบงานแบบใหม่หรือไม่ วันนี้ เราพร้อมจะช่วยคุณ ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิเลิกจ้างประกันสังคม และกรณีลาออก ประกันสังคมจะให้สิทธิประโยชน์ใดบ้าง กับบทความ ลาออก ถูกเลิกจ้าง ประกันสังคมช่วยเหลืออะไรบ้าง สิทธิมนุษย์เงินเดือนต้องรู้ 2566
ลิงก์ผู้สนับสนุน
มนุษย์เงินเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 33
สิ่งที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนควรทราบอันดับต้น ๆ ก่อนที่จะไปหาคำถามเกี่ยวกับการลาออก ประกันสังคมจะให้สิทธิอะไรบ้าง หรือหากถูกเลิกจ้าง เงินชดเชยจะได้เท่าไหร และนอกจากเลิกจ้างประกันสังคมให้เงินชดเชยแล้ว เราจะสามารถเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้หรือไม่ สิ่งที่ควรทราบคือ มนุษย์เงินเดือนทุกคน มีสถานะเป็น ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ซึ่งหมายถึง ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิประกันสังคม 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน (ทั้งกรณีลาออก ประกันสังคมและเลิกจ้างประกันสังคมก็ให้ความช่วยเหลือ)
โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ คือผู้ประกันตน ที่มีสถานะเป็นพนักงงานเอกชนทั่วไป ที่ทำงานอยู่กับนายจ้างหรือสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยกฎหมายประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนมาตรา 33 นี่เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้ประกันตนมากที่สุด โดยมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินชดเชย ซึ่งมีการหักเงินสะสม 5% ของฐานเงินเดือน (ในปัจจุบันคือ 15,000 บาท) ซึ่งสมทบสูงสุดที่ 750 บาท และสามารถได้รับสิทธิประกันสังคม ครบทั้ง 7 ประการ คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
ลาออก ประกันสังคมช่วยเหลืออะไรบ้าง
ในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการทำงานในบริษัทเอกชน หรืองานราชการนั้น การลาออก เป็นเรื่องปกติของการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่มีการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนถ่ายของแรงงานรวดเร็ว และเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว เพราะแม้คุณลาออกก็สามารถที่จะมีรายได้ต่อเนื่อง และเพียงพอสำหรับการหางานใหม่ เพราะหากคุณลาออก ประกันสังคมจะดูแลคุณ ด้วยสถานการณ์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คุณต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน เพื่อรับเงินชดเชยว่างงาน และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิต่อเนื่อง เพราะหากคุณต้องการเป็นผู้ประกันตนต่อไป คุณจะต้องดำเนินการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่อง โดยจะเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปสู่ ผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งยังคงได้รับสิทธิประกันสังคมใกล้เคียงกับมาตรา 33 โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้
ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน
เมื่อคุณลาออก ประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือแก่คุณ ด้วยเงินชดเชย แต่คุณต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ที่เว็บไซต์ empui.doe.go.th ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลาออก ประกันสังคมได้กำหนดไว้ เพราะหากเกินกำหนดจะไม่สามารถใช้สิทธิย้อนหลังได้ จากนั้นให้ดำเนินการยื่นขอรับสิทธิเงินทดแทนกรณีว่างงาน ที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09)
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตยว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ได้แก่ กรุงไทย/ กรุงศรีอยุธยา/ กรุงเทพ/ ไทยพาณิชย์/ กสิกรไทย/ ทหารไทย/ ธนชาต/ CIMB Thai/ อิสลามแห่งประเทศไทย/ ออมสิน และ ธ.ก.ส.
ทั้งนี้ นอกจาก ผู้ประกันที่ลาออก ประกันสังคมให้ดำเนินการดังที่กล่าวไปทั้งหมดแล้ว ผู้ประกันตนจะต้องรายงานตัวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อรับเงินชดเชยการว่างงาน ผ่านเว็บไซต์สำนักงานจัดหางาน ที่นี่ ตามกำหนดเวลาในแต่ละเดือนที่เมื่อผู้ประกันตนลาออก ประกันสังคมได้กำหนดให้เข้ารายงานตัวซึ่งแจ้งล่วงหน้า 7 วัน โดยการรับเงินชดเชยจะดำเนินการโอนเงินภายใน 7 – 10 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติและรายงานตัว (ไม่รวมวันหยุดราชการ)
ลาออก สิทธิประกันสังคม จะเป็นอย่างไร
เมื่อมีการลาออก หลายท่านอาจจะมีข้อกังวลเรื่องการรักษาสิทธิประกันสังคม เพราะแม้ผู้ประกันตนจะลาออก ประกันสังคมยังคงเสนอเงื่อนไขที่สามารถช่วยให้ผู้ประกันสามารถรักษาสิทธิต่าง ๆ ได้ โดยผู้ประกันตนยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่าง ๆ ทั้งกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร คลอดบุตร และเสียชีวิต แต่ไม่ใช่กับสิทธิตามมาตรา 33 แต่ต้องสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 แทน โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ประกันตนต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และสามารถยื่นคำขอผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ภายในเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกจากงาน โดยผู้ประกันตน มาตรา 39 จะต้องดำเนินการส่งเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวน 432 บาทต่อเดือน ซึ่งสามารถรักษาสิทธิการคุ้มครอง 6 กรณีคือ เจ็บป่วย/ ทุพพลภาพ/ เสียชีวิต/ คลอดบุตร/ สงเคราะห์บุตร/ กรณีภาพ โดยจะเสียสิทธิกรณีว่างงาน ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ประกันตนได้ใช้สิทธิไปแล้วนั่นเอง
ลาออก ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยเท่าไหร
การจ่ายเงินชดเชยกรณีผู้ประกันตนลาออก ประกันสังคมได้กำหนดไว้ว่า หากลาออกจากงานเองโดยสมัครใจ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินชดเชยการว่างงาน ไม่เกินปีละ 90 วัน ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย (คิดจากฐานเงินเดือนในปัจจุบันที่ 15,000 บาท) ดังนั้นหากผู้ประกันตนเคยได้รับเงินเดือนที่มากกว่า 15,000 บาท ก็จะได้รับเงินชดเชยกรณีลาออก ประกันสังคมจ่ายให้ที่อัตราฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ซึ่งคิดเป็นเงิน 4,500 บาทเท่านั้น ดังตัวอย่าง
- หากผู้ประกันตนเคยได้รับเงินเดือน 9,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยลาออก ประกันสังคมให้ที่ 30% จะได้เงินชดเชยเท่ากับ 2,700 บาท
- หากผู้ประกันตนเคยได้รับเงินเดือน 11,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยลาออก ประกันสังคมให้ที่ 30% จะได้เงินชดเชยเท่ากับ 3,300 บาท
ทั้งนี้ อัตราการจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ประกันตนกรณีลาออก ประกันสังคมจะมีการจ่ายเงินในอัตราที่มีความแตกต่างไปจาก กรณีเลิกจ้างประกันสังคม หรือ เลิกจ้าง เงินชดเชยจะจ่ายในอัตราที่สูงกว่าคือ ไม่เกินปีละ 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างนั่นเอง
นอกจากอัตราการจ่ายเงินชดเชยแล้ว สิ่งที่ผู้ประกันตนต้องตรวจสอบและแสดงข้อมูลต่อสำนักงานประกันสังคม คือ สาเหตุการลาออกและสาเหตุที่ถูกเลิกจ้าง เพราะสาเหตุนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาเงินชดเชยแก่ผู้ประกันตน โดยเราจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
เลิกจ้างประกันสังคม ช่วยเหลืออะไรบ้าง
สิ่งแรกที่ควรทราบก่อนที่เราจะไปศึกษาสิทธิที่ได้รับจากการถูกเลิกจ้างประกันสังคมช่วยเหลืออะไรบ้างคือ ข้อห้ามและสาเหตุที่จะทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถได้รับสิทธิเมื่อถูกเลิกจ้างนั่นเอง โดยมีการระบุไว้หลายประการดังนี้
- ผู้ประกันตนลาออกโดยสมัครใจ (กรณีนี้จะได้รับสิทธิในส่วนของ การลาออกไม่ใช่การถูกเลิกจ้าง ประกันสังคมจะให้เงินชดเชยที่ 30% ของฐานเงินเดือน)
- มีการทุจริตต่อนายจ้าง หรือทำความผิดอาญา
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ทำการประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
- ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
- ได้รับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
โดย หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุเหล่านี้ จะไม่สามารได้รับสิทธิตามประกันสังคม ซึ่งหากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างประกันสังคม จะดำเนินการจ่ายเงินชดเชย โดยมีการคำนวณตามเงื่อนไข ดังนี้ เงินช่วยเหลือระหว่างการว่างงานจากประกันสังคม ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (ในปัจจุบัน 15,000 บาท) โดยสามารถคำนวณตามตัวอย่าง ดังนี้
- หากผู้ประกันตนเคยได้รับเงินเดือน 9,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยถูกเลิกจ้างประกันสังคมให้ที่ 50% จะได้เงินชดเชยเท่ากับ 4,500 บาท
- หากผู้ประกันตนเคยได้รับเงินเดือน 11,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยถูกเลิกจ้างประกันสังคมให้ที่ 50% จะได้เงินชดเชยเท่ากับ 5,500 บาท
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกันตนยังสามารถได้รับสิทธิการรับเงินชดเชยจากนายจ้าง ซึ่งมีการกำหนดไว้ตามกฎหมายแรงงานอีกด้วย โดยตามกฎหมายแรงงานมีการกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างตามรายละเอียดดังนี้
- ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับเงินชดเชย 30 วัน เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชย 90 วัน เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
- ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างประกันสังคม
เมื่อคุณถูกเลิกจ้างประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือแก่คุณ ด้วยเงินชดเชย แต่คุณต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ที่เว็บไซต์ empui.doe.go.th ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ถูกเลิกจ้างประกันสังคมได้กำหนดไว้ เพราะหากเกินกำหนดจะไม่สามารถใช้สิทธิย้อนหลังได้ จากนั้นให้ดำเนินการยื่นขอรับสิทธิเงินทดแทนกรณีว่างงาน ที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09)
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตยว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ได้แก่ กรุงไทย/ กรุงศรีอยุธยา/ กรุงเทพ/ ไทยพาณิชย์/ กสิกรไทย/ ทหารไทย/ ธนชาต/ CIMB Thai/ อิสลามแห่งประเทศไทย/ ออมสิน และ ธ.ก.ส.
ทั้งนี้ นอกจาก ผู้ประกันที่ถูกเลิกจ้างประกันสังคมให้ดำเนินการดังที่กล่าวไปทั้งหมดแล้ว ผู้ประกันตนจะต้องรายงานตัวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อรับเงินชดเชยการว่างงาน ผ่านเว็บไซต์สำนักงานจัดหางาน ที่นี่ ตามกำหนดเวลาในแต่ละเดือนที่เมื่อผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างประกันสังคมได้กำหนดให้เข้ารายงานตัวซึ่งแจ้งล่วงหน้า 7 วัน โดยการรับเงินชดเชยจะดำเนินการโอนเงินภายใน 7 – 10 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติและรายงานตัว (ไม่รวมวันหยุดราชการ)
ทั้งนี้ จะพบว่าเมื่อผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างประกันสังคมสามารถให้ความช่วยเหลือทั้งในเรื่องของเงินชดเชยการว่างงาน และการให้ความช่วยเหลือด้านการลงทะเบียนคนว่างงานเพื่อหางานใหม่ และยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้ประกันตนยังสามารถได้รับสิทธิการรับเงินชดเชยจากนายจ้างซึ่งมีการระบุไว้อย่างชัดเจน ในกฎหมายแรงงานอีกด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานที่ลูกจ้างได้ทำงานให้แก่บริษัทหรือนายจ้างนั้น ๆ